ในการประกอบกิจการนั้น
ธุรกิจสามารถเลือกวิธีจัดตั้งธุรกิจได้หลายแบบ คือ
1. เจ้าของคนเดียว
2. ห้างหุ้นส่วน
3. บริษัทจำกัด
(อ่านรายละเอียด
แต่ละประเภทที่นี่
โดยที่เหตุผลในการตัดสินใจในการเลือกรูปแบบที่ต่างกัน
คือ
·
ขนาดของเงินลงทุนที่ต้องใช้ในธุรกิจนั้น
หากเป็นธุรกิจขายข้าวแกงในตลาด
ใช้เงินลงทุนไม่มาก
ย่อมไม่มีปัญหาที่พ่อค้าแม่ค้าทั่วไปจะหาเงินมาลงเป็นทุนเพื่อจัดตั้งธุรกิจ
แต่ถ้าเป็นธุรกิจที่ต้องใช้เงินลงทุนมาก มากกว่าที่คนหนึ่งคนจะลงเงินได้ด้วยตัวคนเดียว
เช่นธุรกิจการให้บริการสัญญาณโทรศัพท์มือถือ
กฎหมายก็เปิดโอกาสให้มีการสร้างความร่วมมือระหว่างคนตั้งแต่สองคนขึ้นไป
ในรูปแบบของห้างหุ้นส่วน และบริษัท โดยกำหนดสิทธิหน้าที่ระหว่างกันของเจ้าของร่วม
และระหว่างเจ้าของร่วมกับบุคคลภายนอก
อย่างไรก็ตาม
กฎหมายก็มิได้บังคับว่า หากใช้เงินลงทุนน้อยแล้ว
จะไม่สามารถประกอบกิจการในรูปแบบของเจ้าของหลายคนแบบห้างหุ้นส่วน หรือบริษัท
เจ้าของร้านขายยาใดๆ ก็สามารถเลือกประกอบธุรกิจในรูปแบบห้างหุ้นส่วน หรือบริษัท
แม้ว่าจะมีเงินทุนเพียงพอที่จะทำได้ด้วยลำพังตัวคนเดียวก็ตาม
·
การจำกัดความเสี่ยง
ในการประกอบธุรกิจใดๆ
ล้วนมีความเสี่ยง
แต่ถ้าคนในสังคมล้วนแต่กลัวความเสี่ยงจนไม่คิดที่จะประกอบกิจการ
การซื้อขายจะเกิดขึ้นน้อย อาจเป็นเพียงแค่การอุ้มไก่ไปแลกกับผัก
การจ้างงานก็จะไม่เกิดขึ้น กระแสเงินก็จะไม่หมุนเวียน
ไม่ก่อให้เกิดการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ หรือบริการใหม่ๆที่จะช่วยให้คนในสังคมมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
และไปสุดท้ายที่รัฐบาลไม่สามารถเก็บภาษีมาพัฒนาประเทศได้
ด้วยเหตุผลต่างๆดังนี้
รัฐบาลของแต่ละประเทศจึงเห็นความสำคัญของการช่วยจำกัดความเสี่ยง เพื่อให้ผู้ประกอบการมีความมั่นใจมากขึ้นในการประกอบธุรกิจ
ให้มีการลงทุนมากขึ้น และมาตรการหนึ่งที่ใช้ก็คือ
การแยกทรัพย์สินและหนี้สินของกิจการออกมาจากทรัพย์สินของตัวบุคคลที่เป็นเจ้าของกิจการ
อย่างน้อยก็ให้ผู้ลงทุนมั่นใจว่า หากการลงทุนไม่เป็นไปตามที่คาดหวังไว้
ผลเสียหายจะเกิดขึ้น จะจำกัดวงเพียงแค่ในธุรกิจนั้น
ไม่ลามต่อถึงทรัพย์สินทั้งหมดของผู้ลงทุน โดยให้ธุรกิจนั้น
เป็นเสมือนคนอีกคนหนึ่งที่กฎหมายยอมรับ และให้มีสิทธิบางอย่างเหมือนกับคนคนหนึ่ง
เช่น เป็นหนี้ได้ รับเงินได้ เรียกว่าเป็น “นิติบุคคล” ซึ่งนิติบุคคลตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้น
มีสองรูปแบบคือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด และบริษัทจำกัด
·
ประโยชน์ทางด้านภาษี
คนทุกคนในประเทศ
เมื่อมีรายได้ ต้องนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษี ธุรกิจที่มีรูปแบบการจัดตั้งต่างกัน
ก็มีวิธีการคำนวณภาษีที่ต่างกัน
o อัตราภาษี
หากเป็นเจ้าของคนเดียว
ประกอบธุรกิจในนามเจ้าของคนนั้นๆ
อัตราภาษีที่เสียก็คืออัตราภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดาที่เป็นแบบขั้นบันไดตั้งแต่ 10% ไปจนถึง
37% หากว่าคุณมีเงินได้หลังหักลดหย่อนและค่าใช้จ่ายมากกว่าสี่ล้านบาทขึ้นไป
แต่ถ้าเป็นนิติบุคคล
อัตราภาษีหลังหักค่าใช้จ่ายต่างๆแล้ว จะอยู่ที่ 30% ซึ่งต่ำกว่าอัตราภาษีของบุคคลธรรมดา
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลได้ออกโปรโมชั่นมากระตุ้นให้เกิดการประกอบธุรกิจมากขึ้น
โดยลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล ในรอบปีภาษี 2555 เหลือเพียง 23% และรอบบัญชีปี
2556 เหลือเพียง
20% เท่านั้น
(ดูรายละเอียดอัตราภาษีได้ที่
http://www.taxthai.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539367311&Ntype=1)
o การคำนวณค่าใช้จ่าย
เงินได้ที่จะนำมาคำนวณภาษี
จะเป็นเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายของกิจการ ซึ่งค่าใช้จ่ายที่จะนำมาหักออกจากเงินได้เพื่อคำนวณภาษีนี้
กรมสรรพากรยอมรับการหักค่าใช้จ่ายสองรูปแบบคือ
รูปแบบเหมา
คือคิดเป็นเปอร์เซนต์ของเงินได้ทั้งก้อน
ซึ่งอัตราเปอร์เซนต์นี้ก็แตกต่างกันไปตามประเภทธุรกิจที่ทำ เช่น ร้านขายยาหักค่าใช้จ่ายเหมาได้
70% โดยไม่สนใจว่าต้นทุนซื้อยาเข้าร้านของคุณจะเป็นเท่าไหร่
รายจ่ายอื่นของคุณจะมากหรือน้อย และคุณจะขาดทุนหรือไม่ คุณก็ต้องเสียภาษี
โดยนำสามสิบเปอร์เซนต์ของเงินได้ของร้านมาคำนวณภาษีเงินได้ต่อไป
รูปแบบที่สองคือ
การหักค่าใช้จ่ายตามจริง โดยรายการค่าใช้จ่ายที่จะนำมาหักนั้น ต้องเป็นไปตามระเบียบของกรมสรรพากร
ซึ่งครอบคลุมค่าใช้จ่ายตามความเป็นจริงของธุรกิจส่วนใหญ่ เช่นค่าจ้างตามความเปินจริง
ต้นทุนสินค้าตามความเป็นจริง ค่าใช้จ่ายเพื่อการลงทุนต่างๆ
เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย จึงจะนำมาคำนวณภาษี นั่นหมายความว่า หากคำนวณออกมาแล้ว
ได้ผลเป็นขาดทุน กิจการนั้นก็ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ในรอบบัญชีนั้น
และยังสามารถนำผลขาดทุนในปีที่ผ่านมา
มาหักเงินได้พึงประเมินในปีถัดไปหากว่ามีกำไรได้อีกด้วย
ในทางปฏิบัติ
มีบริษัทจำนวนมากใช้วิธีการขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่อง โดยนำกำไรจากการประกอบกิจการไปลงลงทุนต่อ
ซึ่งเป็นการเพิ่มตัวเลขของค่าใช้จ่าย ทำให้งบกำไรขาดทุนแสดงตัวเลขติดลบ แต่ตัวเลขทรัพย์สินของธุรกิจในงบดุลกลับเพิ่มมากขึ้น
นั่นคือ ธุรกิจสามารถโตขึ้นเรื่อยๆ และไม่ต้องเสียภาษี
ทราบแนวทางการพิจารณาแล้ว
ลองประเมินดูนะครับ ว่าธุรกิจของคุณ ควรจะเดินไปในแนวทางไหน