คุณกับผมต่างก็เกิดมาใยยุคที่เห็นเงินเฟ้อเป็นเรื่องปกติ การเพิ่มขึ้นของปริมาณเงินในกระเป๋า หากไม่พิจารณาให้ดี ว่าส่วนไหนคือเนื้อเงินจริงๆ เราจะคิดว่าตัวเราร่ำรวยยขึ้น มั่งคั่งขึ้น โดยลืมนึกไปว่า ปริมาณเงินที่เพิ่มขึ้นนั้น มาจากการฟ่ามพองขึ้นของเงินเฟ้อไปเท่าไหร่
หากทรัพย์สินทั้งหมดของคุณเมื่อห้าปีที่แล้ว สามารถซื้อก๋วยเตี๋ยวได้หนึ่งพันชาม และในวันนี้ตัวเลขในบัญชีของคุณบอกว่า คุณมีเงินมากกว่าห้าปี่ที่แล้วสามสิบเปอร์เซนต์ แต่เมื่อนำมาคำนวณแล้ว สามารถซื้อก๋วยเตี๋ยวแบบเดิมในราคาปัจจุบันได้เพียง แปดร้อยชาม นั่นหมายความว่า ในความเป็นจริงแล้ว คุณจนลงตะหาก แต่ภาพลวงตาจากเงินเฟ้อ ทำให้คุณเห็นว่าคุณรวยขึ้น แม้ว่าคุณจะมีปริมาณเงินเพิ่มขึ้น แต่เงินแต่ละบาทของคุณกลับมีค่าเจือจางลง
เมื่อคุณประเมินผลการประกอบการ อย่าลืมหักความฟ่ามของเงินเฟ้อนี้ออกไปด้วย เพื่อที่จะไม่โดนเงินเฟ้อ สร้างภาพลวงตาให้ดีใจเก้อว่าผลประกอบการดีขึ้น
อย่างไรก็ตาม ภาครัฐมักจะถือว่าเป็นความล้มเหลวที่จะปล่อยให้มีอัตราเงินเฟ้อสูงๆในขณะที่เขาบริหาร ดังนั้น ภาครัฐจึงมักแก้ไขความล้มเหลวด้วยการเปลี่ยนสูตรการคำนวณเงินเฟ้ออย่างเป็นทางการ โดยตัดค่าใช้จ่ายหมวดต่างๆที่ทำให้ตัวเลขเงินเฟ้อไม่สวย อกกไปจากสูตรการคำนวณ แต่ชาวบ้านไม่สามารถตัดรายจ่ายอันนั้นออกไปจากการดำรงชีวิตปกติ เว้นแต่จะอพยพไปอยู่หลังเขา ไม่ยุ่งเกี่ยวกับใคร ดังนั้น เมื่อคุณนำตัวเลขเงินเฟ้อที่เป็นทางการมาใช้ คุณจึงควรปรับตัวเลขเงินเฟ้อนั้นกลับให้ใกล้เคียงกับเงินเฟ้อที่แท้จริง
ในบ้านเราไม่มีหน่วยงานที่ช่วยคำนวณหาอัตรางินเฟ้อที่แท้จริง แต่ที่สหรัฐมีกลุ่มคนที่ข้องใจกับตัวเลขเงินเฟ้อของภาครัฐ ได้คำนวณหาอัตราเงินเฟ้อที่แท้จริง และเผยแพร่ตัวเลขนี้ ซึ่งอยู่ที่ประมาณสองเท่าของอัตราที่ทางการประกาศ หากคุณจะใช้อัตรานี้มาประมาณอัตราเงินเฟ้อที่แท้จริง เพื่อประมาณการความสามารถในการประกอบการของคุณ คุณจะต้องใช้ตัวคูณสองกับอัตราเงินเฟ้อที่ภาครัฐประกาศ เช่น หากว่ารัฐบาลประกาศว่าปีนี้อัตราเงินเฟ้อสี่เปอร์เซนต์ ก็เป็นไปได้ว่า เงินเฟ้อจริงๆอาจจะอยู่ที่แปดเปอเซนต์ หากธุรกิจของคุณมีผลประกอบการโตขึ้นแปดเปอร์เซนต์ นั่นก็หมายความว่าที่จริงแล้วคุณขายได้เท่าเดิม ตัวเลขที่สูงขึ้นมาจากเงินเฟ้อตะหาก เช่นราคาขายแพงขึ้น
อ่านผลการประกอบการครั้งหน้า อย่าลืมเผื่อใจกับเงินเฟ้อด้วยนะครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น