ยาต้องห้ามทำธุรกรรม
โดย : ปริญญา อัครจันทโชติ ถึงแม้ว่าเราจะเป็นผู้รับอนุญาตขายยาแล้ว ก็ไม่ใช่ว่าเราจะสามารถขายยาได้ทุกประเภท ยังมียาบางประเภทที่เราไม่สามารถจะไปเกี่ยวข้องทำธุรกรรมใดๆกับมัน ไม่ว่าจะเป็นร้านขายยาประเภทใด หรือแม้แต่โรงพยาบาลเองก็ตาม
ยาที่ว่านี้ มีกล่าวไว้ในพระราชบัญญัติยา พ.ศ.๒๕๑๐ มาตรา 72 โดยแบ่งยาที่ต้องห้ามทำธุรกรรมใดๆไว้เป็น 6 ประเภท คือ1. ยาปลอม2. ยาผิดมาตรฐาน3. ยาเสื่อมคุณภาพ4. ยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา5. ยาที่ทะเบียนยาถูกยกเลิก6. ยาที่ถูกเพิกถอนทะเบียนตำรับยา
ยาปลอม
มาตรา 73 ได้ให้ความหมายของยาปลอมไว้ว่า หมายถึง
(1) ยาที่มีสิ่งแปลกปลอมต่างไปจากทะเบียนตำรับยา
(2) ยาที่แสดงชื่อว่าเป็นยาอื่น หรือแสดงเดือน ปี ที่ยาสิ้นอายุ ซึ่งมิใช่ความจริงในอนุมาตรานี้ อาจแยกยาปลอมได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
ยาที่แสดงชื่อเป็นยาอื่น หรือ ปลอมที่ชื่อ
ยาที่แสดงเดือน ปี ที่ยาสิ้นอายุซึ่งมิใช่ความจริง หรือปลอมวันหมดอายุ
(3) ยาที่แสดงว่าเป็นยาชื่อ หรือเครื่องหมายของผู้ผลิต หรือที่ตั้งสถานที่ผลิตยาซึ่งมิใช่ความจริง ในอนุมาตรานี้ มีลักษณะที่ถือว่าเป็นการปลอม 3 ลักษณะคือ
แสดงชื่อของผู้ผลิต ซึ่งมิใช่ความจริง
แสดงเครื่องหมายของผู้ผลิต ซึ่งมิใช่ความจริง
แสดงสถานที่ผลิตยา ซึ่งมิใช่ความจริง
(4) ยาที่ปลอมทะเบียนตำรับยา ไม่ว่าจะอ้างถึงตำรับยาที่มีการขึ้นทะเบียนไว้จริงหรือไม่ ก็ถือเป็นยาปลอมทั้งสิ้น
(5) เป็นกรณีที่ทุกอย่างถูกต้องหมด เพียงแต่ผลที่ได้ออกมา ความแรงของสารออกฤทธิ์ มีความเบี่ยงเบนจากค่ามาตรฐาน มากกว่าที่กำหนดไว้ในทะเบียนตำรับยา +/- 20% คือเป็นความผิดพลาดของกระบวนการผลิต ก็ทำให้ยากลายเป็นยาปลอมได้ตามอนุมาตรา (5) นี้
ยาผิดมาตรฐาน
มาตรา 74 ให้ความหมายของยาผิดมาตรฐานไว้ว่า หมายถึง
(1) ยาที่ความแรงของสารออกฤทธิ์ ขาดหรือเกินจากเกณฑ์ต่ำสุดหรือสูงสุดที่กำหนดไว้ในตำรับยาที่ขึ้นทะเบียนไว้ตามมาตรา 79 แต่ไม่ถึงขนาดดังกล่าวในมาตรา 73 (5)
ยาผิดมาตรฐานตามข้อนี้ คล้ายกับยาปลอม ความแตกต่างอยู่ตรงที่ความเบี่ยงเบนจากมาตรฐานของสารออกฤทธิ์
หากอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ก็ถือเป็นยาปกติ
หากเบี่ยงเบนจากมาตรฐาน +/- น้อยกว่า 20% ถือว่าเป็นยาผิดมาตรฐาน
หากเบี่ยงเบนจากมาตรฐาน +/- มากกว่า 20% ถือว่าเป็นยาปลอม
(2) ยาที่ความบริสุทธิ์ หรือลักษณะอื่นที่จะมีผลต่อคุณภาพยาไม่เป็นไปตามเกณฑ์
ยาเสื่อมคุณภาพ
มาตรา 75 ให้ความหมายของยาเสื่อมคุณภาพไว้ว่า หมายถึง(1) ยาที่สิ้นอายุตามที่แสดงไว้ในฉลาก(2) ยาที่ถูกต้องตามมาตรฐาน แต่ได้นำมาแปรสภาพจนมีผลต่อคุณภาพของตัวยา ไม่ว่าเป็นเรื่องของ
ความแรงของสารออกฤทธิ์ที่เบี่ยงเบนจากเกณฑ์มาตรฐาน (การเบี่ยงเบนนี้รวมทั้งกรณี +/- มากกว่า 20% และกรณี +/- น้อยกว่า 20%) หรือ
ความบริสุทธิ์ในขั้นตอนการผลิต
ยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา
ยาที่จะขายได้ ต้องเป็นยาที่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยากับทางคณะกรรมการอาหารและยาไว้แล้วเท่านั้น
ยาที่ทะเบียนยาถูกยกเลิก
คือยาที่ขึ้นทะเบียนตำรับยาไว้แล้ว แต่มิได้มีการผลิต หรือนำหรือสั่งเข้าฯ เป็นเวลา 2 ปีติดต่อกัน ทะเบียนตำรับยานั้นเป็นอันยกเลิกตามมาตรา 85
ยาที่ถูกเพิกถอนทะเบียนตำรับยา
ยาที่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาไว้แล้ว จะถูกเพิกถอนทะเบียนเมื่อ
ยานั้นไม่มีสรรพคุณตามที่ขึ้นทะเบียนไว้ หรือ
อาจไม่ปลอดภัยแก่ผู้ใช้ หรือ
เป็นยาปลอม หรือ
ยานั้นได้เปลี่ยนไปเป็นวัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้เป็นอาหาร หรือเครื่องสำอาง
ทีนี้เรามาดูโทษของการเข้าไปยุ่งเกี่ยวขายยาต้องห้ามเหล่านี้
วันพุธที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ขออนุญาตฝากลิงค์นะคะ
ตอบลบคาสิโนออนไลน์ ฝาก-ถอน ได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง ที่นี่เลยค่ะ
https://www.111player.com