Pseudoephedrine
มีข่าวออกมาว่า ยาทุกตำรับที่มี Pseudoephedrine เป็นส่วนผสม จะกลายเป็นยาเสพติดประเภทสอง เพราะมีแนวทางการวินิจฉัยจาก คณะกรรมการกฤษฎีกาออกมาว่า เนื่องจาก Pseudoephedrine ถูกจัดเป็นยาเสพติดประเภทสอง ดังนั้น อะไรก็ตามที่มี Pseudoephedrine เป็นส่วนผสม ต้องถือเป็นยาเสพติดประเภทสอง ซึ่งเป็นการกลับแนวทางปฏิบัติเดิมของ อย แต่เดิมที่ถือว่า เมื่อไม่ใช่ Pseudoephedrine เดี่ยวๆ มีการผสมแปรรูปไปเป็นอย่างอื่นแล้ว ไม่สามารถแยก Pseudoephedrine ออกมาโดยง่าย ก็ทำให้ยาสูตรผสมเหล่านี้ อาจไม่เป็นยาเสพติดประเภทสองต่อไป
เหตุการณ์ที่มีการนำยาไปใช้เป็นสารเสพติด เริ่มมีมากขึ้นเรื่อยๆ ภาครัฐก็มีมาตรการควบคุม เช่น การเปลี่ยนสถานะของยาเหล่านั้น ให้กลายเป็นยาควบคุมพิศษ ห้ามจำหน่ายโดยทั่วไป ซึ่งก็ยังไม่สามารถหยุดยั้งการใช้ยากลุ่มนั้นในทางที่ผิดได้ และกำลังพิจารณามาตรการทางกฎหมายกี่ยวกับยา เพื่อแก้ไขสถานการณ์ที่ลุกลามออกไปเรื่อยๆ ในขณะเดียวกัน เหตุการณ์ยังลามไปสู่กลุ่มยาอื่นๆ จนทำให้ยาหลายๆตัวถูกจับตามองว่าจะเดินตามรอยเดียวกัน
จะเห็นได้ว่า ที่ผ่านมา เราใช้ยุทธศ่าสตร์ "ไล่" เพื่อติดตามแก้ปัญหาที่กลุ่มผู้ใช้ยาในทางที่ผิด ก่อขึ้น และก็เป็นการไล่ ที่ไม่สามารถเข้าใกล้กับต้นตอของปัญหา เพราะกลุ่มผู้ใช้ยาในทางที่ผิด มีแรงจูงใจสูงที่จะพลิกแพลงหลบหลีกมาตรการๆของภาครัฐที่ติดตาม"ไล่"แก้ปัญหา ในขณะที่ภาครัฐเป็นหน่วยงานใหญ่ ไม่คล่องตัว
การไล่ตามแก้ปัญหานี้ มีแต่จะส่งผลในการทำให้ปัญหาลามไปสู่กลุ่มยาอื่น หรือสิ่งอื่นตามแต่กลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับยาเสพติดจะจินตนาการออกมาได้ ขนาดใช้ยากันยุง หรือหลอดไฟมาบอผสมกับสารเสพติด ยังมีการทำเลย
บางทีเราน่าจะลองคิดถึงยุทธศาสตร์อื่นบ้าง ที่ใช้จุดเด่นของภาครัฐที่มีขนาดใหญ่ มีพลังขับเคลื่อนสูง เครือข่ายมาก ให้เป็นประโยชน์ เราอาจใช้ยุทธศาสตร์ "ล้อม" คือ ตรึงให้สถานการณ์ไม่ลุกลามไปที่อื่น ยอมจำกัดวงของการใช้สิ่งเสพติด ณ จุดใดจุดหนึ่ง แล้วจึงค่อยๆ ทำให้การเสพติดคลี่คลายลง ทำลายแรงจูงใจของการขยายวงของผู้ใช้สิ่งเสพติด เพื่อไม่ให้มีผู้เสพติดรายใหม่เข้าสู่วงจร
ตอนนี้ดูเหมือนกับว่า ภาครัฐยังทำงานบนจุดด้อยของตัวเองอยู่
หากยังไม่เปลี่ยนยุทธศาสตร์ เปลี่ยนวิธีคิด สักวันหนึ่ง หากว่ากลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับยาเสพติดมีจินตนาการบรรเจิด ถึงขนาดที่สามารถสกัดสารเสพติดจากข้าว ถึงวันนั้น ข้าวที่เรากินกันตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ ก็คงจะเข้าถึงยาก คงจะถูกขึ้นทะเบียนเป็นยาควบคุมพิเศษ และต้องขออนุญาตก่อนกิน
วันศุกร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2555
Pseudoephedrine : ยุทธศาสตร์น่าจะต้องปรับใหญ่
วันพุธที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2555
การเพิ่มรายได้ของร้านขายยา (ุ6) การเพิ่มลูกค้าด้วยเทคนิคการตลาดค้าปลีก
การเพิ่มลูกค้าด้วยเทคนิคการตลาดค้าปลีก
ทำความเข้าใจกันก่อนนะครับ ในความเป็นจริงแล้ว ร้านขายยาก็คือร้านค้าปลีกประเภทหนึ่ง แต่เป็นร้านค้าปลีกที่เน้นขายสินค้าที่เกี่ยวกับสุขภาพ และต้องอาศัยความรู้พิเศษของบุคคลากรในร้านเกี่ยวกับสุขภาพเพื่อให้คำแนะนำกับลูกค้า ซึ่งตรงนี้เป็นสิ่งที่ร้านโชวห่วย หรือร้านสะดวกซื้อไม่มี
การตลาดค้าปลีกบอกว่า กุญแจสามดอกที่ร้านค้าปลีกจะใช้ไขเพื่อเปิดประตูแห่งความสำเร็จ ดอกที่หนึ่งคือทำเล ดอกที่สองคือทำเล และดอกที่สามก็คือทำเล
ทำเล คือหัวใจของร้านค้าปลีกโดยทั่วไป ถ้าทำเลไม่ดี ร้านค้าปลีกนั้นก็แทบจะต้องปิดฉากธุรกิจ แค่ “แทบจะ” เท่านั้น เพราะยังมีวิธีอื่นที่จะใช้ทดแทนทำเล แต่ก็เหนื่อยหนักกว่ากันเยอะเช่นกัน ซึ่งเราจะมาพูดถึงในภายหลัง
ร้านค้าปลีกจะตั้งอยู่ในชุมชน ฝังตัวเกาะติด และทำมาหากินในการแก้ปัญหาในบางเรื่องให้กับชุมชน กลุ่มลูกค้าเป้าหมายก็คือคนในชุมชน หรือคนที่เดินผ่านร้านไปมา ถ้ากลุ่มลูกค้าใหญ่ ร้านค้านั้นก็มีโอกาสสร้างยอดขายก้อนใหญ่ ถ้ากลุ่มลูกค้าเล็ก ยอดขายก็มีโอกาสหดเหลือจิ๊ดนึงตามกลุ่มลูกค้าเช่นกัน ร้านค้าปลีกจึงมักเลือกทำเลที่มีกลุ่มลูกค้าขนาดใหญ่ไว้ก่อน การเปิดร้านบนที่สัญจรหนาแน่นจึงถือเป็นทำเลทางเลือกอันดับแรกๆของการเปิดร้านค้าปลีก แบบเดียวกับที่ขอทานยังเลือกที่จะนอนขวางทางสัญจรของคนจำนวนมาก เพราะมีโอกาสได้เงินสูงกว่า
หน้าที่ของร้านค้าปลีกแบบนี้เริ่มต้นที่คำถาม “ทำอย่างไรให้คนเข้าร้าน?” ตามมาด้วย “ทำอย่างไรให้คนที่เข้าร้านเกิดการซื้อสินค้าในร้าน?” และเมื่อซื้อไปแล้ว “ทำอย่างไรให้เขากลับมาซื้ออีก?”
Ø ทำอย่างไรให้คนเข้าร้าน?
หากร้านของคุณตั้งอยู่ในชุมชน หรือบนทางสัญจรอยู่แล้ว ที่คุณจะต้องทำคือ การดัก หรือกวาดการสัญจรเหล่านี้ให้ไหลเข้ามาในร้านคุณ ถ้าคุณสังเกต เจ้าของร้านสมัยก่อนจะเกลียดมากถ้าสะพานลอยคนข้ามตั้งอยู่หน้าร้านตัวเอง แต่สมัยนี้ไม่เพียงขอให้มีการสร้างสะพานที่หน้าร้านแล้ว ยังขอทำทางต่อจากสะพานลอยให้คนเดินเข้ามาในร้านได้ง่ายๆ ตัวอย่างจากห้างใหญ่ๆหลายแห่งจะใช้วิธีนี้ เพราะจะเป็นการเทการสัญจรที่ไหลไปไหลมาอย่างหนาแน่นภายนอก ให้เข้ามาในห้าง แล้วจึงตามด้วยไม้สองคือ ทำให้คนเหล่านี้ซื้อของ
แต่ร้านขายยาที่เป็นรายเล็กอย่างเรา แม้ว่าจะทำเช่นนั้นไม่ได้ แต่เราก็สามารถดึงการสัญจรของคน(รถไม่เอา ให้วิ่งอยู่นอกร้านแหละดีแล้ว)ให้เข้ามาในร้านได้หลายๆวิธี ตัวอย่างเช่น
Window Dressing การตบแต่งหน้าต่างของร้านค้าปลีก ซึ่งไม่ใช่หน้าต่างบ้านแบบที่เราใช้เปิดรับลม แต่เป็นส่วนของร้านที่มองเห็นได้จากภายนอก เป็นส่วนที่ร้านค้าปลีกจะใช้สื่อออกไปยังคนที่มองมาเห็นได้ทราบว่า ร้านนี้เกี่ยวข้องกับอะไร มีอะไร ดีอย่างไร คนที่สัญจรไปมามักจะได้รับอิทธิพลจาก window dressing ของร้านในการเลือกร้านที่จะเข้า
การติดป้ายเพื่อสื่อข้อความที่คุณต้องการจะบอกเพื่อเชิญชวนคนเข้าร้าน อาจเป็นภาพ หรือข้อความก็ได้เพื่อบอกว่าร้านคุณมีอะไร น่าสนใจอย่างไร แต่ถ้าเป็นข้อความแบบที่เป็นป้ายชื่อร้านเฉยๆ มันไม่บอกอะไรอย่างอื่น ไม่สามารถเชิญชวนลูกค้าขาจรให้เข้ามาในร้านคุณได้เลย เราจึงมักเห็นร้านค้าปลีกทำป้ายคัทเอาท์เป็นภาพและข้อความอยู่บนกันสาดของร้าน เพื่อให้เห็นได้แต่ไกล หรือบางทีก็ทำเป็นป้ายตั้งพื้นออกมาขวางทางสัญจรบนทางเท้า เพื่อให้แน่ใจว่าคนผ่านทางจะได้เห็นแน่ๆ แต่ตำรวจ และเทศกิจห้ามเห็นนะ เพราะท่านจะนำป้ายของคุณไปเก็บและคุณอาจโดนปรับ
จัดร้านให้ สะอาด สว่าง สะดวก หากร้านคุณมองเห็นได้ปรุโปร่งจากภายนอก การจัดร้านแบบนี้ ก็จะทำให้กลุ่มลูกค้ารู้สึกสบาย ในการอยู่ในร้าน ก็ทำให้ลูกค้าอยากเข้าร้าน
Ø ทำอย่างไรให้คนซื้อสินค้าในร้าน?
Product Management การบริหารสินค้า ตั้งแต่การเลือกสินค้าเข้าร้านให้เหมาะกับกลุ่มลูกค้า มีความหลากหลายเพียงพอ ถ้าร้านคุณมีแค่ยา คุณก็จะมีแค่ยาที่จะเสนอให้กับคนเข้าร้าน ซึ่งมักจะเป็นคนที่สนใจสุขภาพ ซึ่งเป็นการจำกัดโอกาสของคุณเอง แต่ถ้าความหลากหลายมากเกินไป ก็จะเป็นภาระกับคุณทั้งในด้านการแบกสต๊อค การหาพื้นที่เพื่อจัดวางสินค้า หากว่ากลุ่มลูกค้าเป้าหมายเข้าร้านคุณแล้ว เมื่อเดินดูทั่วร้าน แต่กลับไม่พบสินค้าที่เขาอยากได้ การขายก็ไม่เกิด การเลือกสินค้าเข้าร้านจึงต้องตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่ของร้าน ซึ่งต้องอาศัยทั้งศาสตร์และศิลป์ในการบริหารสินค้า เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่มาก ซึ่งอันที่จริงตัวผมเองอยากจะจัดให้เรื่องนี้เป็นกุญแจดอกที่สองอยู่เหมือนกัน หมายถึงถ้าให้ผมจัดกุญแจนะครับ
การจัดสินค้าบนชั้นวาง มีศิลปะมากมายในการจัดเรียงให้สามารถเพิ่มยอดขายได้ การกำหนดจำนวนขาของสินค้าแต่ละตัวในการจัดวางบนชั้นวาง การเลือกวางสินค้าที่ชั้นวางระดับสูง-กลาง-ต่ำ ก็ให้ผลต่อยอดขายไม่เท่ากัน การหันชั้นวางในแนวตั้งหรือขวางกับร้านก็ให้ผลต่างกัน ซึ่งไม่ใช่ศาสตร์ลึกลับแบบฮวงจุ้ย แต่เกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้บริโภค ที่ต้องผ่านการสังเกตเป็นเวลาหนึ่ง การใช้ sale kit หรือลูกเล่นบางอย่างกับการวางสินค้า เพื่อให้ข้อมูล หรือเพื่อเรียกความสนใจ ก็มีผลต่อยอดขายเช่นกัน
บรรยากาศเหมาะกับการซื้อ – แสง, สี, เสียง, กลิ่น, ภาพ, อุณหภูมิ ต้องทำให้คนสบายใจที่จะอยู่ในร้าน และดึงดูดให้ลูกค้าเกิดการตัดสินใจซื้อ โดยพยายามปลุกเร้าอายตนะทั้งห้าของลูกค้า แบบที่ร้านเบเกอรี่จะใช้กลิ่นหอมของเค้กขนมปังอบ เป็นคำเชิญชวนคนมาซื้อสินค้า
จัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย เพื่อเร่งการตัดสินใจซื้อ การลดแลกแจกแถมต่างๆ การเสนอเงื่อนไขพิเศษ การเปลี่ยนวิธีการขาย
Ø ทำอย่างไรให้คนกลับมาซื้อสินค้าอีก?
มีเทคนิคที่การค้าปลีกปัจจุบันนิยมใช้อยู่หลายอัน ขอยกมากล่าวถึงบางอย่างในที่นี้
สร้าง Switchinh Cost คือต้นทุนในการเปลี่ยนใจ ทำให้ลูกค้ามีราคาที่ต้องสูญเสียเมื่อจะเปลี่ยนใจไปจากเรา ร้านหนังสือหลายๆแห่งใช้วิธีการเก็บเงินค่าสมัครสมาชิก ในทางหนึ่งอาจเป็นเพราะมีต้นทุนในการรับสมาชิกแต่ละราย ไม่ว่าจะเป็นค่าทำบัตร ค่าเก็บฐานข้อมูลสมาชิก หรือค่าของที่ระลึกที่มอบให้สมาชิกเมื่อแรกเข้า แต่อีกด้านหนึ่ง ค่าสมาชิกที่ลูกค้าถูกเรียกเก็บ จะกลายเป็นต้นทุนที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกสูญเสียไปหากจะไม่ย้อนกลับไปใช้บริการ ณ ร้านเดิม
Switching Cost ในร้านขายยาอาจทำได้หลายอย่าง เช่น การที่คุณรู้ข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพของลูกค้าแต่ละรายเป็นอย่างดี ถ้าหากลูกค้าย่างเท้าเข้าร้านแล้วคุณสามารถรู้ได้ทันทีว่า ลูกค้าป่วยเป็นอะไรโดยที่ยังไม่ต้องเอ่ยปาก นั่นจะเป็นคะแนนบวกให้กับร้านคุณว่า คุณรู้จักสุขภาพเขาเป็นอย่างดีเกินกว่าที่เขาจะตีจากไปจากคุณได้ การที่คุณจะทำอย่างนี้ได้ ต้องอาศัยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศพื้นฐานคือคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะสักเครื่อง กับโปรแกรมฐานข้อมูลแบบเขียนเองก็ได้ง่ายจัง แค่นี้ก็สามารถเก็บข้อมูลให้ลูกค้าทึ่งได้ง่ายๆ
Loyalty Program จำพวกการสะสมแต้มแลกของรางวัล ยิ่งซื้อมากยิ่งได้รับมาก อะไรพวกนี้ การสะสมแต้ม ทำให้ลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำเพราะต้องการแต้มสะสมที่มากขึ้น เพื่อจะแลกของที่มีมูลค่าสูงขึ้น เป็นการสรางพฤติกรรมให้กลับมาซื้อซ้ำได้เป็นอย่างดี และวิธีนี้ก็เป็นที่นิยมใช้กันแพร่หลาย
ทั้งหมดนี้คือ การใช้ประโยชน์จากทำเลที่ดีของร้านที่มีทำเลพอไปได้
แต่ในกรณีที่ร้านเราอยู่ในทำเลไม่ดี คืออยู่ในชุมชนเล็กมีกลุ่มลูกค้าจำกัด แล้วยังไม่ได้มีร้านอยู่บนทางที่ผู้คนเขาสัญจรกัน บางร้านอาจอยู่บนถนนใหญ่ที่รถผ่านเยอะ เช่นบนมอเตอร์เวย์ ซึ่งรถนิยมขับผ่าน แต่ไม่นิยมจอดลงมาเดินช็อปปิ้ง คุณก็อาจต้องสร้าง “แม่เหล็ก” ให้กับร้านของคุณ เช่นปั๊มน้ำมันมีบริการห้องน้ำสะอาดเป็นแม่เหล็กดึงดูดรถที่แล่นผ่านไปมาบนทางหลวงแผ่นดินให้จอดให้คนลงมาปลดทุกข์พร้อมกับแวะซื้อของ
ร้านขายอาหารอร่อยๆที่เปิดร้านในซอยเล็ก บางแห่งอาจลึกลับจนคุณสงสัยว่าชื่อสถานที่เช่นนี้อยู่ในเมืองไทยหรือเปล่า ร้านเหล่านี้ยังมีคนดั้นด้นไปอุดหนุนกันให้ครึ่ก
เหล่านี้คืออิทธิพลของแม่เหล็ก
ร้านยาเปิดใหม่บางร้าน ชอบเปิดร้านบนห้างใหญ่ เพราะมองว่าห้างเหล่านี้เป็นแม่เหล็กดึงคนมาเดิน แล้วคนเดินห้างเหล่านี้ ส่วนหนึ่งก็จะมาซื้อยากับเขา แต่ในทางกลับกัน การที่ห้างเหล่านี้จะเลือกร้านค้ามาลงในพื้นที่ของตน ก็จะเลือกสรรร้านค้าส่วนหนึ่งที่มีชื่อเสียงพอจะเป็นแม่เหล็กดึงมาเดินที่ห้าง ในขณะเดียวกัน ห้างเหล่านี้ก็จะพยายามจัดกิจกรรมต่างๆอย่างสม่ำเสมอเพื่อดึงคนมาเดินห้าง
อย่างไรก็ตาม ร้านขายยาเองก็สามารถสร้างแม่เหล็กของตัวเองขึ้นมาได้ ถ้าแม่เหล็กแรงดี ก็จะดึงดูดลูกค้าจากทั่วสารทิศให้มาที่ร้านได้ เป็นต้นว่า ร้านคุณอาจมีความเชี่ยวชาญในสุขภาพบางด้านอย่างลึกซึ้งที่ร้านอื่นไม่มี เช่น การอดบุหรี่ การลดน้ำหนัก วิทยาศาสตร์การกีฬา เบาหวาน สุขภาพทางเพศ โรคเกี่ยวกับเด็ก หรือแม้กระทั่งประจำเดือนสตรีในยาแผนไทย เป็นต้น
การสร้างแม่เหล็กด้วยตัวเองสามารถทำได้ แต่ต้องเก่งจริง และอาจต้องใช้เวลาในการสะสมชื่อเสียงระยะหนึ่ง แต่ทองคำแท้ย่อมไม่กลัวไฟรน กาลเวลาจะพิสูจน์ให้โลกทราบว่า ร้านคุณคือตัวจริง
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง
การเพิ่มรายได้ของร้านขายยา (5) รูปแบบธุรกิจ
http://ranya-manager.blogspot.com/2012/03/5.html
การเพิ่มรายได้ของร้านขายยา (4) การเพิ่มปริมาณลูกค้า
http://ranya-manager.blogspot.com/2012_02_01_archive.html
การเพิ่มรายได้ของร้านขายยา (3) การเพิ่มจำนวนซื้อของลูกค้าแต่ละราย
http://ranya-manager.blogspot.com/2012_01_01_archive.html
การเพิ่มรายได้ของร้านขายยา (2) การเพิ่มราคา
http://ranya-manager.blogspot.com/2012/01/2.html
การเพิ่มรายได้ของร้านขายยา
http://ranya-manager.blogspot.com/2012/01/blog-post.html
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง
การเพิ่มรายได้ของร้านขายยา (5) รูปแบบธุรกิจ
การเพิ่มรายได้ของร้านขายยา (4) การเพิ่มปริมาณลูกค้า
http://ranya-manager.blogspot.com/2012_02_01_archive.html
การเพิ่มรายได้ของร้านขายยา (3) การเพิ่มจำนวนซื้อของลูกค้าแต่ละราย
http://ranya-manager.blogspot.com/2012_01_01_archive.html
การเพิ่มรายได้ของร้านขายยา (2) การเพิ่มราคา
http://ranya-manager.blogspot.com/2012/01/2.html
การเพิ่มรายได้ของร้านขายยา
http://ranya-manager.blogspot.com/2012/01/blog-post.html
ป้ายกำกับ:
การตลาดค้าปลีก,
การเพิ่มลูกค้า,
ทำให้คนเข้าร้าน,
ทำให้คนซื้อสินค้า
การเพิ่มรายได้ของร้านขายยา (5) รูปแบบธุรกิจ
รูปแบบธุรกิจ เป็นสิ่งที่ใช้อธิบายว่ากิจการธุรกิจ จะสามารถสร้างผลกำไรได้อย่างไร โดยการสร้างความเข้าใจอย่างชัดเจนว่า กิจการที่กำลังพิจารณานั้น สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มอย่างไรได้บ้างสำหรับลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทฯ หรือหากมองจากอีกมุมหนึ่ง Business Model ก็คือ วิธีการในการเปลี่ยนนวัตกรรมให้มีคุณค่าทางเศรษฐศาสตร์ให้กับธุรกิจนั่นเอง
แปลแบบง่ายๆก็คือ วิธีการแปลงของที่คุณมี ให้กลายเป็นรายรับของธุรกิจนั่นเอง
สมมุติว่าคุณมีรถอยู่คันนึง คุณอาจจะทำเงินจากรถคันนี้ โดยการขายก็ได้ ให้เช่าก็ได้ ให้เช่าซื้อก็ได้ หรือซื้อขายผ่อนส่งก็ได้ หรือถ้าซับซ้อนขึ้น ถ้าคุณเพิ่มคนขับรถเข้าไปด้วย คุณอาจจะทำเงินจากการเป็นรถรับจ้างก็ได้ ซึ่งอาจเป็นการรับจ้างขนคนก็ได้ ขนของก็ได้ถ้าคน เราสามารถเติมองค์ประกอบเล็กๆน้อยๆลงไปเพิ่มตามแต่ความคิดสร้างสรรค์ ออกมาเป็นวิธีการเปลี่ยนสิ่งที่เรามี เป็นรายรับของธุรกิจ
ของสิ่งหนึ่งที่เรามี เราอาจแปลงมันเป็นเงินได้มากน้อยไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับคุณค่าของสิ่งที่เราเสนอให้กับผู้ซื้อ มันมีคุณค่าแค่ไหนในสายตาของลูกค้า
มี case study ทางกฎหมายภาษีอากรเรื่องนึงที่น่าสนใจ ในสมัยเมื่อสามสิบปีที่แล้ว บ้านเราใช้ภาษีการค้าก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม การเก็บภาษีการค้า ต้องจำแนกให้ออกเสียก่อนว่า อยู่ในธุรกิจประเภทใด ซึ่งธุรกิจต่างประเภทจะสร้างมูลค่าเพิ่มไม่เท่ากัน ทำให้กำไรไม่เท่ากัน จึงมีอัตราภาษีต่างกัน ไม่เหมือนกับภาษีมูลค่าเพิ่มที่อัตราเท่ากัน แต่เก็บจากมูลค่าเพิ่มที่แต่ละธุรกิจสร้างขึ้นให้กับสินค้าของตัวเอง
สมัยนั้น ที่แยกอโศก มีภัตตาคารอาหารทะเลขนาดใหญ่แห่งหนึ่งตั้งอยู่ มีลูกค้ามากมาย ซึ่งตามกฎหมายภาษีการค้า สวนอาหารแบบนี้อยู่ในกลุ่มพวกภัตาคารที่มีอัตราภาษีการค้าสูงมาก เขาจึงหาวิธีลดอัตราภาษี โดยแจ้งในเวลาเสียภาษีว่า ธุรกิจของเขาอยู่ในกลุ่มตลาดสดขายอาหารทะเล และกลุ่มรับจ้างทำของคือรับทำอาหารทะเลสดที่ลูกค้าซื้อ มาปรุงให้สุก โดยมีโต๊ะให้นั่งเพื่อบริการลูกค้า ซึ่งทำให้อัตราภาษีลดลงอย่างฮวบฮาบ เมื่อเทียบกับการอยู่ในกลุ่มภัตตาคาร
กรมสรรพากรรู้แกว จึงได้ออกประกาศว่า ธุรกิจรับจ้างปรุงอาหารที่มีพื้นที่นั่งให้บริการลูกค้า จัดอยู่ในกลุ่มภัตตาคาร ดังนั้นภัตตาคารแห่งนี้จึงต้องกลับเข้ามาอยู่ในหมวดภัตตาคารตามเดิม
แต่ที่ปรึกษากฎหมายภาษีของภัตตาคารแห่งนี้ไม่ยอมแพ้ จึงหาทางออกโดยการแยกธุรกิจรับปรุงอาหาร ออกจากธุรกิจให้เช่าโต๊ะนั่งรับประทานอาหาร เพื่อที่จะไม่เข้าเงื่อนไขตามประกาศกรมสรรพากรฉบับนี้
เรื่องนี้บอกเราว่า แม้ว่าเราจะทำธุรกิจแบบเดียวกัน แต่เมื่อเรามองธุรกิจในอีกมุมหนึ่ง หรือใส่อะไรอีกนิดหนึ่งเข้าไปในธุรกิจ จะทำให้ธุรกิจนั้นจะเปลี่ยนแปลงไปได้ ส่วนที่ว่าจะเปลี่ยนมากหรือน้อยนั้น ต้องอยู่ที่ความคิดสร้างสรรค์ของแต่ละคน
ป้ายกำกับ:
กลยุทธ์,
การแข่งขัน,
การบริหาร,
ค้าปลีก,
ร้านขายยา,
รูปแบบธุรกิจ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)